สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ทรงเข็มกลัดพระบรมฉายาลักษณ์ของอดีตพระมหากษัตริย์อังกฤษ ไม่ใช่พระบรมฉายาลักษณ์ราชวงศ์ไทย
ภายหลังจากที่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยได้แชร์ภาพถ่ายหนึ่งพร้อมคำกล่าวอ้างว่าพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ทรงเข็มกลัดพระบรมฉายาลักษณ์ราชวงศ์ไทย แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรหรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ยาวนานและแนบแน่นมากว่าหลายทศวรรษ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยืนยันกับ AFP ว่าเข็มกลัดในภาพเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์จอร์จที่ 6 และกษัตริย์จอร์จที่ 5 พระราชบิดาและพระอัยกาของพระราชินีอลิซาเบธที่ 2
ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า: “พระบรมฉายาลักษณ์ของ Queen Elizabeth ภาพนี้ พระองค์ทรงเข็มกลัดพระรูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9”

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 กษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ เสด็จสวรรคตที่ปราสาทบัลมอรัลในสก็อตแลนด์ ขณะที่มีพระชนมพรรษา 96 พรรษา
ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรหรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ยาวนานและแนบแน่นมากว่าหลายทศวรรษ สำนักข่าว AFP รายงาน
ภาพถ่ายดังกล่าวถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่
อย่างไรก็ตาม เข็มกลัดที่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ทรง ไม่ใช่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ไทย
อดีตพระมหากษัตริย์อังกฤษ
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบภาพถ่ายความละเอียดสูงที่แสดงภาพเดียวกันถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ประมูล Invaluable.com
เพจดังกล่าวระบุว่ารูปดังกล่าวถ่ายโดย Terry O'Neill ช่างภาพชาวอังกฤษ และถูกนำมาประมูลที่ Hessink's ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ Invaluable.com (ขวา):

AFP พบว่าเข็มกลัดในภาพถ่ายตรงกับภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ Royal Collection Trust ที่นี่และนี่
จากข้อมูลบนเว็บไซต์ดังกล่าวเข็มกลัดด้านบนเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์จอร์จที่ 6 ในเครื่องแบบกองทัพ ขณะที่เข็มกลัดด้านล่างเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์จอร์จที่ 5 พระอัยกาของพระราชินีอลิซาเบธที่ 2
อาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงลอนดอน ยืนยันกับ ว่าเข็มกลัดในภาพถ่ายดังกล่าวเป็นเข็มกลัดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบิดาและพระอัยกาของราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ไม่ใช่พระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ไทยตามที่โพสต์กล่าวอ้าง
Philip Murphy ผู้อำนวยการฝ่ายประวัติศาสตร์และนโยบายของสถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า “นี่เป็นเข็มกลัดของพราะเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา และกษัตริย์จอร์จที่ 5 พระอัยกา ภาพด้านบนคือพระเจ้าจอร์จที่ 6 ขณที่ภาพด้านล่างคือกษัตริย์จอร์จที่ 5”
Anna Whitelock ศาสตราจารย์ของภาควิชาประวัติศาสตร์สถาบันกษัตริย์จากมหาวิทยาลัย City University of London กล่าวว่าพระบรมฉายาลักษณ์ในเข็มกลัดคือ “กษัตริย์จอร์จที่ 6 และกษัตริย์จอร์จที่ 5”