
วิดีโอถูกกล่าวอ้างอย่างผิดๆ ว่าเป็นอาคารรัฐสภาปาเลสไตน์ที่ถูกทำลาย
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 06:53
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
- เขียนโดย: AFP ฝรั่งเศส, AFP แคนาดา
- แปลและดัดแปลง โดย Panisa AEMOCHA
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำบรรยายโพสต์เท็จ ที่เผยแพร่บนเอ็กซ์ (เดิมคือทวิตเตอร์) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ท่อนหนึ่งระบุว่า "IDF ทำลายอาคารรัฐสภาของกลุ่ม #ฮามาส ใน #ฉนวนกาซา เรียบร้อย"
โพสต์ดังกล่าวยังแนบแฮชแท็กจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาส อาทิ "#สงครามอิสราเอล#อิสราเอล #อิสราเอลปาเลสไตน์"
คำกล่าวอ้างเดียวกันนี้ยังถูกแชร์ในหลากหลายโซเชียลมีเดียอาทิ เฟซบุ๊กอินสตาแกรม และติ๊กตอก ทั้งยังถูกแชร์ในภาษาอื่นๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศสโรมาเนียเช็กสเปน และอิตาเลียน

โพสต์เหล่านี้ถูกแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ราวหนึ่งเดือนหลังกลุ่มติดอาวุธฮามาสข้ามพรมแดนเข้ามาโจมตีและสังหารประชาชนราว 1,200 ราย ซึ่งส่วนมากเป็นพลเมืองธรรมดาของอิสราเอล ทั้งยังจับตัวประกันอีกราว 240 คน กลับไปที่ฉนวนกาซา ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอล
อิสราเอลตอบโต้กลับด้วยการตัดอาหาร น้ำ และพลังงานที่จะส่งไปยังดินแดนปาเลสไตน์ พร้อมถล่มพื้นที่ฉนวนกาซาด้วยการโจมตีทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน นำไปสู่การสังหารพลเมืองมากกว่า 14,100 ราย ส่วนมากเป็นเพียงพลเมืองธรรมดา ในจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น ราว 6,000 ราย เป็นเพียงเด็ก ตามข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน ของ กระทรวงสาธารณสุขกาซาที่มีกลุ่มฮามาสเป็นผู้ปกรอง
การถล่มพื้นที่ฉนวนกาซาทำลายที่อยู่อาศัยของผู้คน และนำไปสู่การพลัดถิ่นของประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน มีรายงานว่าอาคารรัฐสภาของฉนวนกาซาบางส่วนถูกทำลายไป
อย่างไรก็ตามคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ทางสื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้แสดงภาพอาคารรัฐสภาของกาซาที่ได้รับความเสียหาย แต่เป็นวิดีโอที่แสดงการระเบิดของอาคารอื่นในฉนวนกาซา
อาคารรัฐสภาในกาซาได้รับความเสียหาย
กองทัพอิสราเอลแถลงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนว่าพวกเขาสามารถยึดครอง "รัฐสภาของฮามาส อาคารของรัฐบาล สำนักงานใหญ่สำนักงานตำรวจของฮามาส และตึกด้านวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตและพัฒนาอาวุธของฮามาส" ไว้ได้แล้ว
ภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่ในบทความและโพสต์ทางสื่อสังคมออนไลน์แสดงทหารอิสราเอลขณะเข้าไปยึดครองอาคารสภานิติบัญญัติของปาเลสไตน์ในเมืองกาซาซิตี้ ที่ซึ่งกลุ่มฮามาสใช้เป็นที่ประชุม (ลิงค์บันทึกที่นี่และนี่)


สำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานภาพถ่ายดาวเทียม (ลิงค์บันทึก) ที่แสดงให้เห็นอาคารรัฐสภาส่วนหนึ่งที่ถูกทำลาย ระหว่างวันที่ 14 และ 15 พฤศจิกายน หลังกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เข้ายึดอาคารดังกล่าว
The Palestinian Legislative Council complex in Gaza City has been mostly destroyed, a new satellite image from today shows. Buildings were heavily damaged or destroyed, an adjoining park was bulldozed. The complex was taken over by the IDF several days ago. @planetpic.twitter.com/0l3qHbiNAx
— Christoph Koettl (@ckoettl) November 15, 2023
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเผยแพร่รายงานหัวข้อเดียวกัน (ลิงค์บันทึก) ที่ระบุว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากองทัพอิสราเอลเป็นผู้รับผิดชอบต่ออาคารรัฐสภาส่วนหนึ่งที่ถูกทำลาย
ภาพวิดีโอจากหมู่บ้านในปาเลสไตน์
แม้ว่า AFP ไม่พบวิดีโอต้นฉบับ แต่สามารถระบุได้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้แสดงเมืองกาซาซิตี้
อาคารัฐสภาของปาเลสไตน์มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น โดยเฉพาะประตูและโดม ซึ่งทั้งสององค์ประกอบไม่ปรากฏอยู่ในวิดีโอดังกล่าว นอกจากนี้ อาคารรัฐสภาดังกล่าวยังตั้งอยู่กลางเมืองที่เต็มไปด้วยตึกและอาคารจากทุกฝั่ง ขณะที่อาคารในวิดีโอที่ถูกนำมากล่าวอ้างตั้งอยู่ในย่านชานเมือง


ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ส่วนหนึ่งกล่าวว่าวิดิโอดังกล่าวถูกบันทึกขึ้นที่หมูบ้าน Juhor ad Dik (ลิงค์บันทึก) ซึ่ง AFP ยืนยันว่าข้อสังเกตนี้ถูกต้องด้วยการใช้เครื่องมือระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
อาคาร 6 หลัง และต้นไม้ในวิดีโอมีลักษณะตรงกับองค์ประกอบของอาคารที่เห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียม


หมู่บ้าน Juhor ad Dik ตั้งอยู่ห่างจากอาคารรัฐสภาปาเลสไตน์ในเมืองกาซาซิตี้ ออกไป 6 กิโลเมตร

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม สำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์วิเคราะห์วิดีโอจากกองทัพอิสราเอลที่บันทึกไว้หนึ่งวันก่อนจะมีการเคลื่อนรถถัง "เข้าไปทางทิศตะวันตกของหมูบ้าน Juhor ad Dik" (ลิงค์บันทึก)
"อาคาร รวมทั้งสิ่งที่ดูเสมือนเป็นบ้านเรือนถูกทำลาย กินพื้นที่ราว 1 ไมล์ ใน Juhor ad Dik" สำนักข่าวรายงาน
การถล่มพื้นที่ฉนวนกาซาของอิสราเอลนั้นสร้างความเสียหายและทำลายทั้งมัสยิด โบสถ์ อาคารที่อยู่อาศัย และโรงพยาบาล หลายแห่ง
AFP ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา