วิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ในรายงานเกี่ยวกับเครื่องบินของสายการบินเอทิฮัดตกหลุมอากาศในปี 2559
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 14 มกราคม 2021 เวลา 09:30
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
วิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 และได้ถูกแชร์อีกกว่า 1,700 ครั้ง
คำบรรยายบางส่วนเขียนว่า “((อินโดนีเซีย)) ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตก 'pesawat sriwijaya air jatuh' ในอินโดนีเซีย สะเทือนขวัญคนทั้งโลก หดหู่ใจและเสียใจ”
“อินโดนีเซีย : เครื่งบินสายการบิน Sriwijaya Air boeing 737-500 จาก จาการ์ตา - ปอนเตียนัค ภายในประเทศ เที่ยวบิน SJ 182 ขาดการติดต่อ เวลา 14.40 น. หลังขึ้นบิน 4 นาที ผู้โดยสารพร้อมลูกเรือ 62 คน (ผู้ใหญ่ 46 คนเด็ก 7 คนทารก 3 คน / นักบิน 2 คนลูกเรือในห้องโดยสาร 4 คน)”
วิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก 3 วัน หลังจากเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิง 737-500 ของสายการบินศรีวิจายา เที่ยวบิน SJ182 ประสบอุบัติเหตุตกลงในทะเลพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 62 คน หลังออกเดินทางจากสนามบินในกรุงจาการ์ตาเพียงไม่กี่นาที สำนักข่าว AFP รายงานที่นี่
คลิปวิดีโอพร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่และนี่
คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิลด้วยคีย์เฟรมของคลิปวิดีโอในเฟซบุ๊ก ตามด้วยการค้นหาด้วยคำสำคัญ พบวิดีโอนี้ในเฟซบุ๊กของ Dewi Rachmayani เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 Dewi เขียนระบุบนเพจเฟซบุ๊กของเธอว่า เธอเคยทำงานเป็นนักข่าวกับช่อง NET Mediatama Televisi สถานีโทรทัศน์ในประเทศอินโดนีเซีย
คลิปวิดีโอเดียวกันถูกเผยแพร่พร้อมให้เครดิตกับ Dewi Rachmayani ที่นี่โดย CNN สื่อของประเทศสหรัฐอเมริกาและที่นี่โดย The Guardian หนังสือพิมพ์ของอังกฤษ คำบรรยายของทั้ง CNN และ The Guardian ระบุว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวแสดงเหตุการณ์เครื่องบินของสายการบินเอทิฮัดตกหลุมอากาศขณะเดินทางจากกรุงอาบูดาบีไปยังกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559
ภาพในคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิดตรงกับภาพตั้งแต่ช่วงวินาทีที่ 23 เป็นต้นไปในคลิปวิดีโอในโพสต์ของ Dewi Rachmayani
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และคลิปวิดีโอของ Dewi Rachmayani (ขวา)
ทีมตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP แอฟริกาได้ตรวจสอบคลิปวิดีโอเดียวกัน หลังจากคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบินเอธิโอเปียนในปี 2562
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา