เรือที่ระเบิดในคลิปวิดีโอนี้ไม่ได้เรือรบ Moskva ของกองทัพรัสเซีย แต่เป็นเรือที่ใช้การฝึกซ้อมของกองทัพนอร์เวย์ในปี 2556

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 26 เมษายน 2565 เวลา 09:50
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP Thailand
คลิปวิดีโอหนึ่งซึ่งมียอดรับชมหลายล้านครั้งในโพสต์ทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่แสดงการระเบิดบนเรือ Moskva เรือรบของกองทัพรัสเซีย คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ คลิปวิดีโอนี้ถูกนำมาจากวิดีโอต้นฉบับที่ยาวกว่าและถูกเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2556 โดยเป็นวิดีโอที่แสดงการฝึกซ้อมของกองทัพนอร์เวย์ โดยการใช้เรือรบที่ถูกปลดประจำการแล้ว

เรือธง Moskva เรือรบของกองทัพเรือรัสเซียในทะเลดำ จมลงในวันที่ 14 เมษายน 2565 ภายหลังเกิดเหตุระเบิดบนเรือ โดยประเทศยูเครนและสหรัฐอเมริกากล่าวว่าเป็นผลของขีปนาวุธจู่โจม ขณะที่ทางการมอสโกอธิบายว่าเกิดเหตุไฟไหม้ที่มีต้นเพลิงมาจากกระสุนของเรือรบ

คลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด แสดงการระเบิดที่เกิดขึ้นบนเรือกลางทะเล และถูกโพสต์ลงทางเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 และมียอด

คำบรรยายโพสต์เขียนว่า: “ภาพนาทีก่อนที่เรือธงลาดตระเวนขีปนาวุธ Moskva ของรัสเซีย จะดิ่งลงสู้ก้นทะเลดำจากการโจมตีของยูเครน”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

คลิปวิดีโอเดียวกันถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ทางเฟซบุ๊ก ยูทูป ทวิตเตอร์ เว่ยป๋อ และติ๊กตอก ซึ่งมียอดรับชมมากกว่า 16 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างที่ระบุว่าเรือในคลิปวิดีโอดังกล่าวคือเรือ Moskva เป็นเท็จ

การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิลพบคลิปวิดีโอนี้ ถูกเผยแพร่ลงยูทูป โดย South West News Service สำนักข่าวของอังกฤษ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556

วิดีโอดังกล่าวมีชื่อว่า: “กองทัพเรือนอร์เวย์ทดสอบขีปนาวุธจู่โจม”

คำบรรยายบางส่วนของวิดีโอเขียนว่า: “กองทัพนอร์เวย์นำเรือรบที่ปลดประจำการออกไปในทะเลเพื่อซ้อมรบ จากนั้นพวกเขาก็ยิง “ขีปนาวุธจู่โจมร่วม” ชนิดใหม่เข้าที่เป้าหมายด้วยความแม่นยำ ทำให้เกิดการระเบิดขนาดใหญ่และสร้างความเสียหายต่อเรืออย่างมหาศาล”

คลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด ตัดเอาบางส่วนของคลิปวิดีโอนี้ และสลับด้านภาพจากวิดีโอต้นฉบับ ทั้งวิถีของขีปนาวุธ ควันไฟสีดำ และซากชิ้นส่วนของเรือที่เกิดจากการระเบิด ตรงกับภาพในคลิปวิดีโอต้นฉบับหมด เพียงแค่ถูกสลับด้านเท่านั้น

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปปี 2556 (ขวา):

Image
Image
Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปปี 2556 (ขวา)

ด้านล่าง AFP ได้ขยายภาพเพื่อการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปปี 2556 (ขวา):

Image
Image
Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปปี 2556 (ขวา) ขยายภาพโดย AFP

กิจกรรมการฝึกซ้อมดังกล่าว ได้ถูกรายงานอย่างละเอียดในเดือนมิถุนายน 2556 และคลิปวิดีโอเดียวกันถูกเผยแพร่อยู่ในรายงานของทั้ง CNN Yahoo News และสำนักพิมพ์พิเศษเกี่ยวกับกิจกรรมด้านการทหาร

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา