คลิปวิดีโอเหตุไฟไหม้โกดังในสหรัฐฯ ถูกแชร์ในโพสต์เท็จว่าเป็น 'การโจมตีของกองโจรอิรัก'
- เผยแพร่ วัน 18 มีนาคม 2024 เวลา 08:51
- อัพเดตแล้ว วัน 22 มีนาคม 2024 เวลา 09:54
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: Tommy WANG, AFP ฮ่องกง, AFP ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ, AFP ประเทศไทย
- แปลและดัดแปลง โดย Chayanit ITTHIPONGMAETEE
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
"กองโจรอิรักจากการต่อต้านอิสลามแห่งอิรักได้ระเบิดโรงไฟฟ้าที่สนามบินนานาชาติ Haifa ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอิสราเอล" ผู้ใช้งาน X เขียนคำบรรยายประกอบวิดีโอฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567
โพสต์เดียวกันนี้ยังระบุต่อว่า "โดรน Kamikaze ของอิรักที่เต็มไปด้วยระเบิดพุ่งชนเข้ากับอาคาร หลังจากนั้นจึงเกิดการระเบิดที่ทรงพลัง"
กลุ่มต่อต้านเพื่ออิสลามในอิรักเป็นพันธมิตรอย่างหลวมๆ กับกลุ่มที่ได้รับการหนุนหลังโดยอิหร่าน โดยกลุ่มดังกล่าวไม่พอใจที่สหรัฐฯ สนับสนุนอิสราเอลในช่วงสงครามกาซา โดยกลุ่มดังกล่าวได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีต่อกองทัพสหรัฐฯ และกลุ่มพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง ตั้งแต่สงครามปะทุขึ้นในเดือนตุลาคม 2566
สหรัฐฯ ได้ปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการโจมตีกลุ่มดังกล่าวจำนวนหลายครั้ง (ลิงก์บันทึก)
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 กลุ่มต่อต้านเพื่ออิสลามในอิรักกล่าวว่าพวกเขาใช้โดรนโจมตีโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในสนามบินไฮฟา ประเทศอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม สื่อในประเทศอิสราเอลรายงานว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจริง (ลิงก์บันทึก)
วิดีโอเดียวกันนี้ยังถูกแชร์อย่างแพร่หลายในภาษาไทยในเฟซบุ๊กที่นี่ และ ติ๊กตอกที่นี่ และ นี่ นอกจากนี้ ยังพบคำกล่าวอ้างเดียวกันนี้แพร่กระจายในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษที่นี่ ภาษาอาหรับที่นี่ และ ภาษาจีนที่นี่ และ นี่
คำกล่าวอ้างเท็จเดียวกันนี้ยังถูกแชร์ในช่องทางรับชมข่าวสารในประเทศจีนอย่าง Tencent และ Netease ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกบันทึกไว้ได้ระหว่างเกิดเหตุไฟไหม้ที่โกดังแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ
ไฟไหม้โกดัง
AFP ได้ใช้การค้นหาด้วยคำสำคัญ และพบวิดีโอเดียวกันนี้ถูกเผยแพร่ไว้ในช่องยูทูปของสถานีโทรทัศน์ ABC News ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 (ลิงก์บันทึก)
คำบรรยายในวิดีโอระบุว่าวิดีโอดังกล่าวบันทึกเหตุการณ์ "ระเบิดและไฟไหม้รุนแรงที่โรงงานบุหรี่ไฟฟ้าในรัฐมิชิแกน ซึ่งคร่าชีวิตวัยรุ่นวัย 19 ปีที่อยู่ห่างออกไป 4 ไมล์"
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จ (ซ้าย) และวิดีโอจากช่องยูทูปของสถานีโทรทัศน์ ABC News (ขวา):
รายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ ABC News ระบุว่า วิดีโอดังกล่าวถ่ายโดยชายคนหนึ่งชื่อ จอห์น เวอร์ซาเช
AFP พบว่าจอห์นได้เผยแพร่คลิปเดียวกันนี้ไว้ในบัญชีอินสตาแกรมของเขา พร้อมคำบรรยายที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ไฟไหม้ตึกในเมืองคลินตันครั้งใหญ่"
สถานีตำรวจเมืองคลินตันได้เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ซึ่งระบุว่า เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเกิดขึ้นที่อาคารพาณิชย์ชื่อ Select Distributors (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
AFP พบภาพถ่ายสตรีทวิวของกูเกิลที่ตรงกับคลิปวิดีโอที่บันทึกเหตุไฟไหม้ (ลิงก์บันทึก)
สถานีโทรทัศน์ CBS News รายงานว่า หัวหน้าหน่วยดับเพลิงในพื้นที่สรุปว่าเหตุไฟไหม้ดังกล่าวเกิดจากถังแก๊สบิวเทนในโกดังระเบิด (ลิงก์บันทึก)
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา