ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลขว้างก้อนหินปูถนน ขณะปะทะกับกำลังตำรวจที่ในกรุงเคียฟ ยูเครน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ( AFP / Sergei Supinsky)

คลิปวิดีโอจากปี 2557 ถูกแชร์ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเกี่ยวกับการรุกรานของรัสเซีย

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 11 มีนาคม 2022 เวลา 08:08
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
คลิปวิดีโอรถหุ้มเกราะที่ถูกปาด้วยระเบิดขวดในถนนแห่งหนึ่งของประเทศยูเครน ได้ถูกแชร์ทางสื่อสังคมออนไลน์ว่าเป็นการต่อต้านของชาวยูเครนต่อการรุกรานของกองกำลังรัสเซีย คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ คลิปวิดีโอดังกล่าวมาจากยูเครนจริง แต่เป็นเหตุการณ์ในปี 2557 ที่มีการเคลื่อนไหวประท้วงต่อต้านรัฐบาลเมื่อผู้ประท้วงได้ปาระเบิดขวดใส่ยานพาหนะของกองทัพ

คลิปวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และมียอดรับชมแล้วมากกว่า 200 ครั้ง

วิดีโอดังกล่าว ซึ่งถูกแชร์ทางสื่อสังคมออนไลน์ในปี 2565 ในหลายประเทศ เช่น สเปน ยูเครน และโรมาเนีย แสดงรถหุ้มเกราะสองคัน ขับพุ่งชนสิ่งกีดขวางบนถนนที่มีธงชาติยูเครน ก่อนถูกปาด้วยระเบิดขวดหลายลูกจนลุกเป็นไฟ

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์คลิปวิดีโอดังกล่าวในขณะที่มีรายงานการปะทะกันในหลายเมืองของประเทศยูเครน หลังจากที่รัสเซียส่งกำลังทหารเข้ารุกรานในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบคลิปวิดีโอเดียวกันที่มีธงชาติยูเครนและร้านค้าด้านหลัง เป็นวิดีโอถูกเผยแพร่ลงทางยูทูปเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557

ชื่อของวิดีโอต้นฉบับแปลจากภาษายูเครนเป็นภาษาไทยว่า “ชาวไมดานปาระเบิดเพลิงในรถหุ้มเกราะ”

เหตุการณ์ในคลิปวิดีโอดังกล่าว เกี่ยวกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของยูเครนในปี 2557 หรือการประท้วงไมดาน (Maidan movement) ซึ่งได้ชื่อมาจากจัตุรัสแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่ของการประท้วงหลายครั้ง

การค้นหาโดยใช้คำสำคัญ “ผู้ประท้วงไมดานเผารถถัง” ในภาษายูเครนทางยูทูป พบคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ในรายงานข่าวของ TSN สื่อในประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 โดยในรายงานมีภาพเหตุการณ์เดียวกันจากมุมกล้องอื่น

คลิปวิดีโอของเดอะนิวยอร์กไทมส์และสกายนิวส์ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 แสดงรถหุ้มเกราะขับชนที่กั้นขณะถูกไฟเผา

คำบรรยายวิดีโอของเดอะนิวยอร์กไทมส์ แปลเป็นภาษาไทยว่า: “การประท้วงต่อต้านรัฐบาล ข้ามคืนไปสู่ช่วงเช้ามืดของวันพุธในยูเครน”

การค้นหารายงานข่าวที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ในกรุงเคียฟ พบว่าสื่อหลายสำนักรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น The Guardian ที่นี่ Al Jazeera ที่นี่ และ Kyiv Post หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในยูเครนที่นี่

เบาะแสในคลิปวิดีโอ ยืนยันได้ว่าคลิปดังกล่าวบันทึกเหตุการณ์ในถนน Khreshchatyk ซึ่งเป็นถนนสายหลักในกรุงเคียฟ โดยพบว่าวิดีโอดังกล่าวแสดงพื้นที่บริเวณด้านหน้าของโรงแรม Khreshchatyk Kyiv

AFP สามารถระบุพิกัดของสถานที่ในคลิปวิดีโอได้ ว่าเป็นพื้นที่บริเวณทางเข้าโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างจัตุรัส Indepedence (จัตุรัสไมดาน) และจัตุรัส European โดยมีจุดสังเกตที่โดดเด่นที่สุดคือป้ายสีแดงของธนาคารอัลฟ่า (Альфа-Банк)


มีการแชร์เนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในปี 2565 โดยมักจะใช้ภาพที่ถูกแชร์ในบริบทที่เป็นเท็จ

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา