ภาพปลาหมึกยักษ์เกยตื้นบนชายหาดเป็นภาพที่ถูกสร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI)
- เผยแพร่ วัน 17 มิถุนายน 2024 เวลา 11:55
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: Celine SEO, AFP ฮ่องกง
- แปลและดัดแปลง โดย Pasika KHERNAMNUOY
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
"อัศจรรย์สัตว์ทะเล #ปลาหมึกยักษ์แปซิฟิก สัตว์ยักษ์ ไม่น่าเชื่อว่าจะได้เห็น ไม่มีสินามิ หลังเหตุการณ์น้ำทะเลขึ้นสูง เพราะสิ่งนี้หรือไม่ พบปลาหมึกยักษ์ ขึ้นเกยตื้น น้ำทะเลในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ June 4, 2024" ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กบัญชีหนึ่งโพสต์รูปภาพและเขียนคำบรรยายในวันที่ 5 มิถุนายน 2567
ภาพในโพสต์ดังกล่าวแสดงให้เห็นสิ่งมีชีวิตมีหนวดขนาดยักษ์นอนเกยตื้นอยู่บนชายหาด
ภาพและคำกล่าวอ้างในลักษณะเดียวกันนี้ถูกแชร์หลายร้อยครั้งบนเฟซบุ๊ก ที่นี่ นี่ และ นี่
ผู้ใช้งานบางส่วนเชื่อว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพปลาหมึกยักษ์จากเหตุการณ์จริง
"ดีนะเกยตื้นที่บาหลี ถ้ามาเมืองไทยป่านนี้คงไม่เหลือซาก" ความคิดเห็นหนึ่งระบุ
"น้ำจิ้มซีฟู้ดพร้อม" อีกความคิดเห็นระบุ
การค้นหาภาพย้อนหลังในกูเกิล พบว่าภาพดังกล่าวถูกโพสต์ครั้งแรกบนบัญชีอินสตาแกรมของผู้ใช้งานชื่อ "best_of_ai_" ในวันที่ 2 มิถุนายน 2567 ก่อนที่ภาพดังกล่าวจะถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จอย่างแพร่หลายบนสื่อสังคมออนไลน์ (ลิงก์บันทึก)
ผู้ใช้งานดังกล่าวระบุว่าตัวเองเป็น "นักสร้างสรรค์งานดิจิทัล" ที่เน้นการ "เล่าเรื่องผ่าน AI" ด้วยการใช้เทคนิคทาง AI ในรูปแบบต่าง ๆ
ภาพปลาหมึกขนาดยักษ์มีชื่อผลงานว่า "การไว้อาลัยยักษ์ใต้มหาสมุทร" โดยเจ้าของภาพเขียนในคำบรรยายว่าเป็นนิยายภาพจากจินตนาการ
วิดีโอในโพสต์ดังกล่าวแสดงภาพชุดจำนวน 10 รูป ซึ่งเผยให้เห็นปลาหมึกยักษ์เกยตื้นและรายล้อมไปด้วยผู้คน โดยรูปทั้งหมดถูกสร้างด้วย AI
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เท็จ (ซ้าย) และภาพต้นฉบับในโพสต์อินสตาแกรม (ขวา):
บัญชีดังกล่าวมักโพสต์ภาพของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำขนาดยักษ์ที่สร้างจาก AI อย่างสม่ำเสมอ เช่น ที่นี่ นี่ และ นี่ (ลิงก์บันทึก ที่นี่ นี่ และ นี่)
ภาพชุด "ปลาหมึกยักษ์" เผยให้เห็นองค์ประกอบที่มีลักษณะผิดปกติหลายจุด เช่น คนที่มีแขนขาเกินและไม่มีศีรษะ ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในภาพที่สร้างด้วย AI
อ่านรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP เกี่ยวกับประเด็นภาพที่ถูกสร้างด้วยปัญญาประดิษฐ์ได้ ที่นี่ นี่ และ นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา