
โพสต์ออนไลน์แชร์คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับการทดลองวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 11:55
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่างอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กในประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565
คำบรรยายบางส่วนของโพสต์เขียนว่า “ผู้บริหารไฟเซอร์ออกมายืนยันว่า 'วัคซีนไฟเซอร์ไม่เคยได้รับการทดลองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19”
โพสต์ดังกล่าวแชร์คลิปวิดีโอความยาว 2 นาที ซึ่งมีการกล่างอ้างคล้าย ๆ กัน -- โดยต้นฉบับถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 โดยเป็นทวีตของสมาชิกรัฐสภาสหภาพยุโรปชาวดัตช์ Robert Roos
วิดีโอของ Roos -- ซึ่งมียอดรับชมสูงกว่า 13 ล้านครั้ง -- นำเสนอคลิปวิดีโอบางส่วนระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิเศษรัฐสภาสหภาพยุโรปในวันที่ 10 ตุลาคม 2565
ในคลิปวิดีโอดังกล่าว Roos ถาม Janine Small ผู้บริหารของไฟเซอร์ว่า “วัคซีนป้องกันโควิดของไฟเซอร์ผ่านการทดสอบในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสก่อนถูกนำมาวางจำหน่ายบนตลาดหรือไม่”
ซึ่ง Small ตอบว่า “ไม่”
“เราทราบหรือไม่ว่าวัคซีนสามารถหยุดการสร้างภูมิคุ้มกัน (immunisation) ก่อนจำหน่ายบนท้องตลาด? “ไม่” ผู้บริหารไฟเซอร์ตอบ
การใช้คำว่า “การสร้างภูมิคุ้มกัน” เป็นการใช้คำผิด แทนศัพท์เฉพาะ “การแพร่เชื้อ” โดย Janine Small พูดผิด ฝ่ายการสื่อสารของห้องทดลองยืนยันกับ AFP ทางอีเมลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 “ฉันสามารถยืนยันได้ว่า Small หมายถึง ‘การแพร่เชื้อ’ อย่างไรก็ตามเนื้อหาที่เธอต้องการจะสื่อยังคงเหมือนเดิม”

คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันได้ถูกแชร์นับแสนๆ ครั้งทั่วโลก ทั้งในภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โครเอเชีย เยอรมัน ฟินแลนด์ ไทย มาเลเซีย และตากาล็อก
โพสต์ดังกล่าวทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความโมโห โดยกล่าวหาว่าไฟเซอร์จงใจปกปิดข้อมูลชุดนี้จากสาธารณะ
ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งเขียนคอมเมนต์ว่า “ในที่สุดความจริงก็เป็นที่ประจักษ์ แต่ต้องเอาคนพวกนี้มารับผิดชอบให้ได้นะ จ่ายค่าปรับ หรือจำคุก พวกเขาต้องชดใช้ในสิ่งที่เขาได้ทำไป”
อย่างไรก็ตาม คำตอบของผู้บริหารไฟเซอร์ต่อคณะกรรมการดังกล่าวไม่ได้เป็นการ “ยอมรับ” อย่างที่ถูกนำเสนอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลชุดนี้ถูกเผยแพร่ในรายงานข่าวมาตั้งแต่ปี 2563
ข้อมูลตั้งแต่ปี 2563
ข้อมูลที่ระบุว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่เชื้อ ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ของคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563
คำถามเกี่ยวกับการแพร่เชื้อ ปรากฎอยู่ในหน้าที่ 48 ในเอกสารของ FDA ภายใต้ส่วนที่เขียนว่า “ประสิทธิภาพของวัคซีนเกี่ยวกับการระบาดของ SARS-CoV-2”
\เนื้อหาในส่วนดังกล่าวเขียนว่า “ข้อมูลที่มีถือว่ายังอยู่ในกรอบที่จำกัดในการประเมิณผลของวัคซีนต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จากบุคคลที่ติดเชื้อแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว”

“การประเมินเพิ่มเติม ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกและข้อมูลหลังการอนุมัติ มีความจำต่อการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในเรื่องการป้องกันการกระจายของไวรัสและการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ”
อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า “ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการ อาจจะสามารถประเมินเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่ดีได้สำหรับกลุ่มประชากรที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง”
อย่างไรก็ตาม “ถือว่าเป็นไปได้ ถ้าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการนั่นต่ำกว่าประสิทธิภาพในป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ ในกรณีการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ อาจจะเกี่ยวข้องกับการใส่หน้ากากอนามัยที่น้อยลง และวินัยการเว้นระยะห่างทางสังคมที่หล่ะหลวมกว่า และอาจจะเป็นผลให้มีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องได้”
ข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่ในรายงานของสื่อหลายสำนักในเดือนธันวาคม 2563 -- ซึ่งรวมถึงรายงานของ AFP ที่นี่และนี่
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 AFP ติดต่อไปยังฝ่ายห้องทดลองของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค โดยได้รับคำตอบทางอีเมลว่า “การทดลองทางคลินิกระยะ 3” ไม่ได้ “ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการระบาดของ SARS-CoV-2”
องค์การยาแห่งยุโรป (EMA) อธิบายบนเว็บไซต์ด้วยว่า “ประโยชน์บางประการของวัคซีนป้องกันโควิด อาจจะยังไม่ปรากฏในช่วงที่วัคซีนเพิ่งผ่านการรับรอง”
“ประโยชน์ของมันจะชัดเจนขึ้นภายหลังการใช้จริง” หน่วยงานดังกล่าวอธิบาย โดยระบุว่าเมื่อเวลาผ่านไปซักพักหนึ่ง เจ้าหน้าที่สาธาณสุขจะมีความเข้าใจมากขึ้น “ถ้าวัคซีนสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสในสถานการณ์จริง การจำกัดการแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงจำนวนคนที่ได้รับวัคซีนครบโดส”
เอกสารของ EMA ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เขียนอธิบายว่าผลสรุปของการทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีนไฟเซอร์ “ยังไม่สามารถทำให้เราทราบได้ (…) ว่าวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ หรือว่าวัคซีนมีผลต่อการระบาดของไวรัสหรือไม่”
การทดลองทางคลินิก
ในการทดลองทางคลินิก การวัดผลกระทบของวัคซีนในห่วงโซ่ของการระบาดเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้เชี่ยวชาญอธิบายกับ AFP การแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งไม่สามารถจำลองได้ภายในกรอบของการทดลองทางคลินิก
“การทดลองใช้ตัวอย่างจากอาสาสมัครหลายหมื่นคน เพราะว่าในตอนนั้นยังไม่มีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีเมื่อเทียบกับยาหลอก (placebo) เราพบว่ามีคนที่ได้รับวัคซีนจำนวนไม่เยอะที่ติดเชื้อ นอกจากนี้แล้วการเฝ้าติดตามต่อว่าพวกเขาสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับคนที่ไม่เกี่ยวกับการทดลองนั้นเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากในการจะตีความออกมาเป็นอะไรที่จับต้องได้” นักระบาดวิทยา Antoine Flahault กล่าวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
“ผู้เชี่ยวชาญต้องการเกนต์ที่ชัดเจน และในส่วนนี้สามารถวัดได้จากผลกระทบของวัคซีนเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตและผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยไม่ได้วัดจากรูปแบบการประเมินเรื่องรูปแบบการแพร่เชื้อ” เขากล่าวสรุป
ผลการทดลองของไฟเซอร์ -- ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างหลายพันคน -- ถูกเผยแพร่อยู่ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ในเดือนเดียวกัน โดยการทดลองดังกล่าวยืนยันได้ว่าการฉีดวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้จริง
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนอธิบายกับ AFP ว่าเป้าหมายของการทดลองทางคลินิก คือการวัดประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการรุนแรงของโรคโควิด-19 ไม่ใช่กันระงับการแพร่เชื้อ
พวกเขากล่าวต่อว่าการระบาดนั่นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย -- ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในขณะนั้น -- ซึ่งไม่สามารถจำลองได้ภายในกรอบของการทดลองทางคลินิก
“ถ้าวัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันการระบาดจะถือเป็นเรื่องที่ดียิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการพัฒนาวัคซีนในระดับการทดลองทางคลินิก” นักระบาดวิทยา Yves Buisson กล่าวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
วัคซีนมีประสิทธิภาพ
ผลการทดลองทางคลินิกในระยะ 3 (จากกลุ่มตัวอย่าง 44,000 คน) ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทไฟเซฮร์ไบโอเอ็นเทค เอกสารฉบับนี้ของคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 ระบุในหน้าที่ 46 ว่าจาก “ประโยชน์ที่ทราบ” ของสินค้าคือ “การลดความเสี่ยงของโควิด-19 ยืนยันได้อย่างน้อย 7 วันหลังการฉีดเข็มที่ 2” และ “หลังเข็มแรกและก่อนเข้มที่สอง”
เอกสารดังกล่าวยังระบุด้วยว่าวัคซีนดังกล่าวช่วย “ลดความเสี่ยงของอาการรุนแรงของโรคโควิด-19 ยืนยันได้หลังจากการฉีดเข็มที่ 1”
ประสิทธิภาพต่ออาการที่รุนแรง – ซึ่งเป็นข้อสังเกตุแล้วจากผลการทดลอง – ได้รับการยืนยันต่อด้วยจากการรณรงค์การฉีดวัคซีนทั่วโลก โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนอธิบายกับ AFP ในรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนหน้านี้
งานวิจัยหลายฉบับ (1 , 2 , 3) โดยประเมินจากข้อมูลของการรณรงค์การฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและอิสราเอล แสดงให้เห็นแล้วว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้เพียงแค่มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันอาการรุนแรง แต่วัคซีนช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของเชื้อสายพันธุ์เก่าได้จริง
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา