ผู้เชี่ยวชาญเตือนเรื่องการใช้สารคลอรีนไดออกไซด์เพื่อรักษาโรคโควิด-19
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 19 มกราคม 2022 เวลา 05:11
- อัพเดตแล้ว วันที่ 19 มกราคม 2022 เวลา 05:42
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงในกลุ่มเฟซบุ๊กที่มีสมาชิกมากกว่า 32,000 คน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
โพสต์ดังกล่าวแชร์ข้อความที่เขียนว่า “CIO2 หรือ CDS หรือ MMS ปราบโควิดได้อย่างราบคาบ จนประเทศโบลิเวีย ออกเป็นกฏหมายให้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง (เพราะถูกคนขายวัคซีนพยายามขัดขวาง)”
CIO2 เป็นตัวย่อของ คลอรีนไดออกไซด์ ส่วน CDS เป็นตัวย่อของสารละลายคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine Dioxide Solution)
MMS เป็นตัวอักษรย่อของ Miracle Mineral Solutions ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกคลอรีนไดออกไซด์
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ได้ถูกแชร์ในโพสต์เฟซบุ๊กทั้งในภาษาอังกฤษและไทย
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
“อันตราย” ต่อสุขภาพ
ผู้เชี่ยวชาญเตือนเรื่องการบริโภคคลอรีนไดออกไซด์เพื่อรักษาโรคโควิด-19
ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่าสารคลอรีนไดออกไซด์สามารถรักษาโรคโควิด-19”
“คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค แต่ให้ใช้ในทางอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น ในน้ำยาฟอกขาวและน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว โดย ไม่สามารถใช้กับมนุษย์” เขาบอกกับ AFP เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565
“คลอรีนไดออกไซด์นั้นมีคุณสมบัติที่อันตรายมาก ใครที่รับเข้าไปจะมีผลค้างเคียงต่อสุขภาพที่อาจอันตรายถึงชีวิตในระยะยาว ไม่ควรนำมันมาใช้เป็นยา”
ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คลอรีนไดออกไซด์เพื่อรักษาโรคในมนุษย์ถูกกล่าวถึงมาก่อนแล้วเป็นเวลาหลายปี ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส HIV หรือโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าว
กรมควบคุมโรค ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขไทย ยืนยันว่าคลอรีนไดออกไซด์ ไม่ได้รับการอนุมัติเพื่อใช้รักษาโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันกับ AFP เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ว่า “เราไม่เคยอนุมัติการใช้คลอรีนไดออกไซด์สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย”
“บุคลากรทางการแพทย์จะทำการเตรียมชุดยาให้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับอาการของผู้ป่วย เช่นพาราเซตามอลหรือโมลนูพิราเวียร์”
“ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์”
คลอรีนไดออกไซด์ในโบลิเวีย
คลอรีนไดออกไซด์ ยังคงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในประเทศโบลิเวีย โดยทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและนักการเมืองต่างระบุว่าสารดังกล่าวสามารถนำมาใช้รักษาโควิด-19 ได้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพออกมาเตือนว่าไม่ให้ใช้ คลอรีนไดออกไซด์ เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ในมนุษย์
ในเดือนมิถุนายน 2563 กระทรวงสาธารณสุขโบลิเวียได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับการใช้สารคลอรีนไดออกไซด์
เนื้อหาบางส่วนของแถลงการณ์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า “คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารที่ใช้ในน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวและน้ำยาน้ำยาฟอกขาวสำหรับวัสดุอินทรีย์” โดยคำเตือนดังกล่าวระบุว่าหากรับสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงในระบบทางเดินหายใจ ภาวะตับล้มเหลว อาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง
#IMPORTANTE
— Ministerio de Salud y Deportes Bolivia (@SaludDeportesBo) June 29, 2020
Comunicado documentado sobre el Dióxido de Cloro
Descarga el comunicado completo en: https://t.co/KmjsfqpQjvpic.twitter.com/JNvSAnXvKP
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขโบลิเวียจะเผยแพร่คำเตือนดังกล่าว สภาคองเกรสโบลิเวียได้ออกกฏหมายที่อนุมัติการผลิตและใช้สารตัวนี้ สำหรับการรักษาโรคโควิด-19
กฏหมายดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ ณ วันที่ 15 มกราคม 2565 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของรัฐบาล
องค์กรด้านสุขภาพสำหรับประชาชนในทวีปอเมริกา (Pan American Health Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติ ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับการนำสารดังกล่าวมาใช้ เช่นเดียวกับหน่วยงานกับกำดูแลในสหรัฐฯ ชิลี สเปน เปรู โคลอมเบีย ปารากวัย อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ และอุรุกวัย
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา