กรมอนามัยโต้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยที่ปรากฏไม่ได้อ้างอิงข้อมูลทางการแต่อย่างใด
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2020 เวลา 03:45
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพ infographic นี้ได้ถูกเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ดังกล่าว ที่ได้ถูกแชร์ต่อออกไปไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง
Infographic นี้เป็นการนำเสนอหน้ากากอนามัยชนิดต่างๆ และประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ฝุ่นละออง และเกสรดอกไม้
คำประกอบภาพเขียนว่า “หน้ากากแต่ล่ะชนิดป้องกันได้อย่างไร”
ที่มุมด้านขวาล่างของ infographic เขียนว่า “ที่มา : กรมอนามัย”
ภาพ infographic เดียวกันยังได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่ ขณะที่ infographic อีกภาพก็ยังปรากฏที่นี่อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การอ้างอิงว่าที่มาของข้อมูลชุดนี้มาจากกรมอนามัยเป็นเท็จ
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 กรมอนามัยได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อชี้แจงว่าข้อมูลที่ปรากฏใน infographic ไม่ได้มาจากกรมอนามัย
“เนื่องจากแหล่งที่มา ทางกรมอนามัยยังไม่ได้มีการรับรองความถูกต้องนะคะ ต้นทางผู้ผลิตได้ทำการแก้ไขแล้วค่ะ”
ด้านล่างคือโพสต์ของกรมอนามัย
ข้อความด้านล่างเขียนว่า ตามที่ได้มีเพจหนึ่งผลิตสื่อที่ระบุแหล่งที่มาจากกรมอนามัย กรมอนามัยขอชี้แจงว่า “สื่อดังกล่าวไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เป็นทางการของกรมอนามัยและกรมอนามัยไม่ได้รับรองข้อมูลความถูกต้องของสื่อชิ้นนี้”
กรมอนามัยได้ยืนยันกับ AFP ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าข้อมูลที่ปรากฏใน infographic ไม่ได้ผลิตขึ้นโดยใช้ข้อมูลทางการของกรมอนามัยตามที่มีการเขียนแหล่งที่มา
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 กรมอนามัยโพสต์ภาพ inforgraphic นี้ลงบนเพจทางเฟซบุ๊ก
ข้อความด้านล่างเขียนว่า “ล้างมืออย่างถูกต้องและเลือกใช้สบู่หรือใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือทุกครั้ง ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรนา”
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา