นาย Adrian Dix รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขบริติชโคลัมเบีย (ซ้าย) และ นาง Bonnie Henry เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรัฐพูดคุยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนนาดา เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 (AFP / Don Mackinnon)

คำแนะนำเรื่องเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ถูกอ้างว่าเป็นคำพูดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบริติชโคลัมเบีย

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 11 มกราคม 2021 เวลา 11:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
โพสต์ที่อ้างว่าเป็นคำแนะนำเรื่องการใช้ชีวิตภายใต้ความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 ได้ถูกแชร์นับพันครั้งทางเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ออนไลน์ คำกล่าวอ้างนี้ถูกนำไปอ้างว่าเป็นคำแนะนำของนาง Bonnie Henry เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา สำนักงานของนาง Bonnie ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หยุดแชร์โพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดดังกล่าวและให้ใช้คำแนะนำทางการของรัฐเรื่องเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่

คำกล่าวอ้างดังกล่าวถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564

คำบรรยายในโพสต์เขียนว่า “ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่”

ในทุกๆ โพสต์จะมีการกล่าวถึงคำแนะนำ 16 ข้อ ตั้งแต่คำแนะนำที่ถูกต้องเช่น “การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ” ไปจนถึงคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จอย่างเช่น “การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน อาจจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณลดลง”

Image

โฆษกประจำกระทรวงสาธารณสุขแห่งรัฐบริติชโคลัมเบียอธิบายกับสำนักข่าว AFP ทางอีเมลว่า “ข้อความนี้ไม่ได้มาจาก ดร. Henry หรือบุคลาการคนอื่นๆ ในสำนักงานของเธอ”

“เธอไม่ต้องการให้ชาวบริติชโคลัมเบียนำข้อมูลชุดนี้ไปเผยแพร่ในเครือข่ายของพวกเขา เธอแนะนำให้ใช้ชุดข้อมูลจากคำแนะนำบนเว็บไซต์ของศูนย์ควบคุมโรคแห่งรัฐบริติชโคลัมเบียแทน”

คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กที่นี่ และบนเว็บไซต์ที่นี่และนี่

การค้นหาด้วยคำสำคัญพบข้อความคล้ายๆ กันที่ถูกแชร์ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 อยู่บนเว็บไซต์ของประเทศปากีสถาน ซึ่งอ้างว่าข้อความดังกล่าวเป็นของ Dr. Faheem Younus ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดต่อของ University of Maryland Upper Chesapeake Health โดยเจ้าตัวได้ออกมาปฎิเสธว่าคำแนะนำนี้ “ไม่ได้เป็นคำพูดของเขา”

คำแนะนำบางข้อในโพสต์ดังกล่าวเป็นความจริง เช่น การปฏิเสธวิธีการรักษาอย่างผิดๆ เช่นการดื่มขิงและน้ำส้มสายชู และการที่ไวรัสดังกล่าวมีโอกาสแพร่กระจายทางรองเท้าและผักผลไม้ ซึ่งคำกล่าวอ้างเหล่านี้ได้ผ่านการตรวจสอบความจริงแล้วโดยสำนักข่าว AFP ที่นี่ นี่และนี่

อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวมีข้อที่ระบุว่า “การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน อาจจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจน” ซึ่งเป็นเท็จ โดย AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างดังกล่าวแล้วที่นี่

สำนักข่าว AFP ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่ กว่า 560 เรื่อง ซึ่งรวมไปถึงคำกล่าวอ้างเท็จและคำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 สามารถอ่านรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในหัวข้อดังกล่าวได้ที่นี่

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา